ขุนจักกะพากพานิชกิจ กับ ศรีราชาในอดีต

         

                                       ขุนจักกะพากพานิชกิจ กับ ศรีราชาในอดีต

  

                                                      

 

          ตำนานน้ำพริกศรีราชา หรือซอสพริกศรีราชา ท่านแต่งงานกับนางเย็นและนางเพิ่ม ซึ่งเป็นน้องสาวและลูกสาวของนายกิมซัว ทิมกระจ่าง ต้นตำหรับน้ำพริกศรีราชา ที่เป็นตำนานของชาวศรีราชา ปัจจุบันน้ำพริกศรีราชาได้โด่งดังไปทั่วโลก

 

          ด้านคมนาคมในศรีราชา ได้จัดทำรถโดยสารประจำทางวิ่งสายศรีราชา – บางละมุง และสายศรีราชา – บางพระ โดยสั่งตัดถนนขึ้นเองเพื่อให้การคมนาคมสะดวกขึ้นกว่าเดิม ทำความเจริญในด้านคมนาคมแก่ตำบลศรีราชาเป็นครั้งแรก

          

 

          ด้านการศึกษา บริจาคที่ดินที่ตลาดให้ทางการสร้างโรงเรียนประชาบาล ประจำตำบลศรีราชาเป็นแห่งแรก (บริเวณวัดในเก่า ข้างตลาด ปัจจุบันรื้อไปแล้ว) นอกจากนี้ครอบครัวของท่านยังบริจาคที่ดินผืนใหญ่ ประมาณ 11 ไร่เศษ เพื่อสร้างโรงเรียนตะกาด หรือ โรงเรียนเทศบาลบ้านศรีมหาราชา ในปัจจุบัน

         

 

          ด้านศาสนา หลังจากท่านได้บริจาคที่ดินที่ตลาด ให้ทางการสร้างโรงเรียนแล้ว ทางวัดได้รื้อศาลาวัดที่เป็นที่เรียนแห่งแรกของตำบลศรีราชา ไปสร้างใหม่ที่ที่ดินที่ท่านบริจาคให้ แล้วท่านก็ได้สร้างศาลาให้แก่วัดศรีราชาหลังใหม่ ใหญ่กว่าเก่าประมาณ 2 เท่า ของหลังเดิม โดยร่วมกับเพื่อนของท่าน ชื่อนางเรียม ลือประเสริฐ และได้จารึกชื่อทั้งสองท่านนี้ไว้ที่ศาลาด้วย ต่อมาเข้าใจว่าคงเก่าแก่ผุพังไป ทางวัดจึงได้สร้างขึ้นใหม่ดังที่ได้เห็นอยุ่ขณะนี้

 

        

 

          ด้านสาธารณะประโยชน์ บริจาคที่ดินริมทะเล (บริเวณตรงข้ามสวนสาธารณะเกาะลอยปัจจุบัน) เพื่อให้ทางราชการสร้างศูนย์ราชการประจำอำเภอศรีราชาในสมัยนั้น (ปัจจุบันเป็นบ้านพักป่าไม้ บ้านพักนายอำเภอศรีราชา) ภรรยาท่านได้บริจาคที่ดินทำถนนเข้าค่ายลูกเสือวชิราวุธศรีราชา ถนนเส้นนี้จึงได้ชื่อว่า ถนนจักกะพาก

 

           

 

          ด้านสังคมสงเคราะห์ เมื่อปีมะเส็ง พ.ศ. 2460 เกิดน้ำท่วมใหญ่ในตำบลศรีราชา ท่านขุนจักกะพากได้แจกข้าวเปลือกในยุ้งของท่านให้แก่ชาวบ้านที่ยากไร้ ที่ประสพอุทกภัยในครั้งนั้นทั่วถึงทั้งตำบล

 

         

 

          ด้านสาธารณูปโภค สมัยที่บ่น้ำร้อนบางพระยังไม่ได้ทำอ่างเก็บน้ำ มีบ่อน้ำร้อนอยู่เก่าซึ่งกรุด้วยไม้ ขอบบ่อสูงประมาณคืบกว่าๆ คนนั่งตักน้ำอาบที่ขอบอ่างได้ ต่อมาขุนจักกะพากและหมอชิต (ยานัตถ์) ได้ร่วมกันสร้างขอบบ่อโบกปูนและสูงกว่าเดิม ทั้งได้ทำห้องอาบน้ำไว้ใกล้ๆ อีกด้วย และได้จารึกชื่อไว้ว่า ร่วมสร้างกับหมอชิต (เพราะหมอชิตก้เป็นคนบางพระ)

 

         

          ด้านการเมืองการปกครอง นับได้ว่าขุนจักกะพากพานิชกิจเป็นผู้ใกล้ชิดที่สุดคนหนึ่งของท่านเจ้าคุณ (จอมพลเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี : ผู้ให้กำเนิดศรีราชา) ลูกท่านทั้ง 2 คือ นายอรุณและนายพยม จักกะพาก เคยเป็นนายกเทศมนตรีศรีราชา นอกจากนี้ในระดับประเทศก็มีบุคคลหลายท่านได้เป็นเครือญาต ได้ทำงานรับใช้แผ่นดินและสถาบันพระมหากษัตริย์ ดังเช่น

 

          - คุณวิทูร จักกะพาก (ลูกของน้องชายท่านขุนฯ) เคยเป็นปลัดกระทรวงมหาดไทย

          - คุณเปา จักกะพาก (หลวงบรรกรโกวิท) (ลูกของน้องชายท่านขุน) เคยเป็นอธิบดีกรมศุลกากร, อธิบดีกรมบัญชีกลาง, อดีตรัฐมนตรี

          - พ.ต.อ. อัมพุช ไตรกิจยานุกูล (หลานตาขุนจักกะพาก) เคยเป็นตำรวจราชสำนักประจำ ปฏิบัติหน้าที่ถวายความปลอดภัยแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมราชินีนาถ รวมทั้งพระราชโอรสและพระราชธิดา

 

* ขอบคุณแหล่งข้อมูล : คุณเฉลย จักกะพาก (ภูลพิพัฒน์), คุณพาณี อ่ำพันธุ์ (จักกะพาก), คุณศรีเฉลา จักกะพาก (ข้อมูลและภาพครอบครัวจักกะพาก), พล.ต.หญิง เสาวนิต ไตรกิตยานุกูล คุณบัญชา จักกะพาก, คุณธวัชชัย จักกะพาก, คุณเกียรติกร จักกะพาก (ภาพขุนจักกะพาก), นสพ.เดลินิวส์ คอลัมน์ “ถอดหน้ากากเศรษฐกิจ” ฉบับลงวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ.2527

* ต้องการทราบโครงสร้างของตระกูลจักกะพาก สามารถติดต่อได้ที่ พล.ต.หญิง เสาวนิต ไตรกิตยานุกูล (จักกะพาก) โทร. 081-761-8156

 

 

 

Visitors: 63,782